วัฒนธรรมประเพณี

21.วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

    รำเหย่ย เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวกาญจนบุรีมาแต่บรรพกาลราวๆ 500 ปีเศษมาแล้ว จะเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ เป็นต้น วิธีการเล่นคือ ฝ่ายชายฝ่ายหญิงยืนล้อมวงกัน มีการร้องนำ ร้องแก้ และลูกคู่ ร้องรับพร้อมปรบมือเป็นจังหวะ ขณะร้องแก้นั้นฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะออกมาร่ายรำทีละคู่เปลี่ยนกันไป มีกลองยาวหนึ่งวง การแต่งกาย ชายนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอกลมผ้าขาวม้าพาดไหล่ หญิงแต่งชุดไทยห่มสไบเฉียง ปัจจุบันนิยมเล่นกันในเขตท้องที่อำเภอพนมทวนเท่านั้น
    งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จัดขึ้นทุกปี ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและการแสดงแสงและเสียงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว
    งานวันชาวเรือ ชาวแพ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่บริเวณถนนสองแคว ริมน้ำหน้าเมือง ภายในงานมีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหกรรมลูกทุ่ง นิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง และการแข่งขันกีฬาทางน้ำประเภทต่างๆ อาทิ เรือยาว เรือเร็ว เจ็ตสกี เป็นต้น 

ทิวเขาที่สำคัญในจังหวัดกาญจนบุรี

ทิวเขาที่สำคัญในจังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปคล้ายคลึงกับทางภาคเหนือ คือ มีทิวเขาสลับกับหุบเขาแคบทิวเขามีทิศทางจากทางเหนือไปใต้ โดยมีทิวเขา 2 แนว คือ ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี

1. ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องมาจากทางภาคเหนือ คือ จ.เชียงใหม่ผ่านเขตจ.ตากจนถึงกาญจนบุรี ทอดเป็นแนวยาวลงไปจนสุดปลายทิวเขาสิ้นสุดที่ช่องเขาควายในต.ท่ามะขาม เขตอ.เมืองกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำแควน้อย ส่วนหนึ่งของทิวเขานี้อยู่ในเขตอ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นแนวทางแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า ยอดเขาสูงของทิวเขาถนนธงชัยส่วนที่อยู่ในภาคตะวันตกนี้ คือ เขาใหญ่สูง 1,645 เมตร ในต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกับ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาถนนธงชัยเป็นสันปันน้ำแบ่งน้ำลงมา 2 ทาง คือ ในเขตจ.ตากด้านตะวันตกไหลลง แม่น้ำเมย ซึ่งกั้นเขตแดนไทย-พม่า ด้านตะวันออกไหลลงแม่น้ำปิง ส่วนในเขตจ.กาญจนบุรีด้านทิศตะวันตก ไหลลงสู่แม่นำ้แควน้ิอย ด้านตะวันออกไหลลงสู่แม่น้ำแควใหญ่

2. ทิวเขาตะนาวศรีี ทิวเขาตะนาวศรีเริ่มกำเนิดจากเขาใหญ่ ทางตอนเหนือของจ.กาญจนบุรี พาดไปตาม แนวเส้น แบ่งเขตแดนไทย-พม่า วกไปทางใต้ผ่านเขตจ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร สุดปลายทาง ทิวเขาที่ถนนเพชรเกษม ตอนชุมพรปากจั่น ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจ.ชุมพรกับระนอง รวม ความยาว 843 กิโลเมตร ทิวเขาตะนาวศรีเป็นสันปันน้ำ ทางตะวันตกน้ำไหลลงแม่น้ำในประเทศพม่า ส่วนตะวันออกน้ำไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำภาชี แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำปราณบุรี ทิวเขานี้มีช่องเขาที่เป็นทางผ่านได้สะดวก ในสมัยโบราณเคยเป็นเส้นทางค้าและเส้นทางเดินทัพระหว่างไทย- พม่า ได้แก่ ช่องด่านพระเจดีย์สามองค์ เขตอ.สังขละบุรี ช่องบ้องตี้ เขตอ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และช่องสันพร้าวหรือช่องสิงขรในอ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

บุคคลสำคัญจังหวัดกาญจนบุรี

 

บุคคลสำคัญจังหวัดกาญจนบุรี

1. พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) 

        พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ จ.ศ. 1224 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2405 ณ บ้านม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุีรีโยมบิดาชื่อ หมื่น อินทร์รักษา (นิ่ม พูลสวัสดิ์) โยมมารดาชื่อ จีบ บิดา มารดาขนานนามว่า “เปลี่ยน” นามสกุล พูลสวัสดิ์ อายุได้ 12 ปี บิดามารดานำไปฝากพระอธิกรณ์เจ้าอาวาส วัดชุกพี้ เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอม

    พระวิสุทธิรังษี ได้ศึกษาเล่าเรียนหาความรู้และปรนนิบัติพระอาจารย์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ครั้นมีความรู้อ่าน ออกเขียนได้จึงลาพระอาจารย์มาประกอบอาชีพ

    เมื่อวัยหนุ่มเป็นผู้ที่มีมิตรสหายมากมายเพราะอุปนิสัยใจคอท่านเป็นคนกล้าหาญใจกว้างเป็นที่รำ่ลือไปทั่ว ทำให้โยมบิดากลัวว่าต่อไปจะเสียอนาคต จึงได้ปลอบโยนให้อุปสมบท และทำการอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี โดย มีพระวิสุทธิรังษี (ช้าง) วัดชัยชุมพลชนะสงครามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิกรณ์วัดชุกพี้เป็นพระกรรมวาจา พระอธิการยอดวัดทุ่งเสมอเป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้นามว่า “อินฺทสโร”

    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่ในสำนักพระอธิกรณ์ จนครบพรรษา จึงย้ายไปอยู่กับพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) ณ วัดชัยชุมพลชนะสงคราม เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยต่อ

    จากการที่ท่านเป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง มีการเสียสละและมีพรรคพวกมาก แม้ได้อุปสมบทแล้วก็ได้่ช่วยภาระ ทางสงฆ์ กิจการใดก็ทำได้สำเร็จลุล่วงจนได้รับการยกย่องจากพระครูวิสุทธิรังษีิ (ช้าง) เจ้าคณะเมืองกาณจนบุรี

    สมณศักดิ์ที่ได้รับ ดังนี้

        พ.ศ. 2431 เป็นพระใบฎีกา

        พ.ศ. 2436 เป็นพระปลัด และเป็นรองเจ้าอาวาสวัดชัยชุมพลฯ

    เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเจ้าน้องญาเธอได้จัดการศึกษาในมณฑลต่างๆ โดยเฉพาะจ.กาญจนบุรี ซึ่งสังกัดในมณฑลราชบุรี วัดชัยชุมพลฯ เป็นวัดหนึ่งที่ได้รับการยกย่อง ด้วยพระปลัดเปลี่ยนเป็นผู้จัดสอนพระธรรม ในวัดชัยชุมพลฯ และวัดเทวสังฆาราม

    ต่อมาพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) มรณภาพ จึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูวิสุทธิรังษี เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี เมื่อพ.ศ. 2444

    ในสมัยร.6 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี ได้เสด็จมาเมืองกาญจนบุรี ทราบความเป็นไปว่าคณะสงฆ์ในเมืองกาญจนบุรีเรียบร้อยดี จึงขอพระราชทาน สมณศักดิ์เลื่อนพระครูวิสุทธิรังษีขึ้นเป็นพระราชาคณะในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ร.6 ได้ประทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งเป็นพระราชาคณะ มีนามว่า “พระวิสุทธิรังษี ชินศาสนโศภี สังฆปาโมกข์” เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี

    ในปีพ.ศ. 2463 ได้รับพระราชทานพัดตรารัตนาภรณ์ ชั้น 4

    พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) เป็นผู้ก่อตั้ง”รงเรียนประจำจังหวัด และจัดตั้งโรงเรียนบาลีหลายแห่ง ท่านมีชื่อเสียง ในเรื่องพระเครื่องคุ้มครองในทางขลัง

    ครั้นเมื่อท่านมีอายุได้ 85 ปี ก็อาพาธด้วยโรคชรา จนถึงวันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2490 เวลา 9.25 น. ท่่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ  

                         http://ta-dekkeng.exteen.com/20090131/entry-3

เทศกาลจังหวัดกาญจนบุรี

 

จังหวัดกาญจนบุรี :: เทศกาลImage

 

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว
จังหวัดกาญจนบุรีจะจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควขึ้นทุกปี   ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม   เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะ   และสะพานข้ามแม่น้ำแคว    ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา  มีการแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์    และโบราณคดี   การแสดงพื้นบ้าน   การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง  และการแสดงแสงและเสียง  บริเวณสะพานข้าม แม่น้ำแคว

งานวันชาวเรือ  ชาวแพ
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน   ที่บริเวณถนนสองแคว    การแสดงมหกรรมลูกทุ่ง  ริมน้ำหน้าเมืองกาญจนบุรี  ภายในงานมีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน  การแสดงมหกรรมลูกทุ่ง   นิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง    และการแข่งขันกีฬาทางน้ำประเภทต่าง ๆ   อาทิ  เรือเร็ว   เจ็ตสกี  เป็นต้น

 

ของฝากเมืองกาญจน์

Image

อัญมณี

อัญมณีที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรีคือ  ไพลิน  และนิล   สามารถหาซื้อได้ที่   อ.บ่อพลอย   หากต้องการพลอยสีน้ำเงินแบบเม็ดจากเหมืองแร่โดยตรง   ต้องไปที่   บริษัท  เอสพีเหมืองแร่   จำกัด  ถ้าเป็นพลอยสีน้ำเงินที่ประกอบตัวเรือนแล้วหาซื้อได้ที่ศูนย์หัตถกรรมอัญมณี  ริมทางหลวงหมายเลข   3086   (ลาดหญ้า-หนองปรือ)    ศูนย์ฝึกวิชาชีพเจียระไนนิล   อนันตพลพลอยกาญจน์     และโรงงานวังแก้วจิวเวลรี่  ที่  ต.ท่ามะขาม  หรือบริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว

วุ้นมะพร้าวอ่อน

วุ้นเมืองกาญจน์มีรสชาติหอมหวาน   มีลักษณะพิเศษตรงที่ใส่มะพร้าวอ่อนเป็นส่วนผสม   ทำให้รสไม่หวานจัดจนเกินไป   หาซื้อได้ตามร้านขายของฝากทั่วไป

วุ้นเส้นท่าเรือ

เป็นวุ้นเส้นที่ผลิตจากถั่วเขียว  มีชื่อเสียงในเรื่องความสะอาด   เหนียวนุ่มและได้มาตรฐานการผลิต  แหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่บ้านท่าเรือ  และ  อ.ท่าม่วง  (ถ.แสงชูโตตัดใหม่)   หาซื้อได้ตามร้านขายของฝากทั่วไป

น้ำพริก

มีให้เลือกมากมายหลายรส   เช่น  น้ำพริกแมงดา   น้ำพริกนรก   น้ำพริกตาแดง   หาซื้อได้ตามร้านของฝากทั่วไป

มะขามกวน
เป็นของกินอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของเมืองกาญจน์ไปแล้ว   มีรสชาติเปรี้ยว   หวาน  เค็ม   เหมาะสำหรับเป็นของฝากที่กินได้นานทีเดียว   โดยเฉพาะมะขามแก้วมีขายทั่วไปทั้งใน  จ.กาญจนบุรี   และจังหวัดใหญ่ ๆ  ทั่วประเทศ

ผ้าทอ   บ้านหนองขาว
ของฝากที่ขึ้นชื่อของบ้านหนองขาวคือ  ผ้าทอมือ  ผ้าขาวม้า   ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน   นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมการทอผ้าและซื้อสินค้าได้จากชาวบ้านโดยตรงหรือซื้อจากกลุ่มแม่บ้านหนองขาว   (ผ้าขาวม้าร้อยสี)   หน้าวัดอินทารามก็ได้

                    http://www.kanchanaburi.go.th/au/travel/otop.php

การรับประทานอาหารภาคตะวันตก

 

ประเพณีการรับประทานอาหารของคนไทยภาคต่างๆ

 ประเพณีการรับประทานอาหารของคนไทย สมัยโบราณ ครอบครัวไทยนั่งรับประทานอาหารกับพื้น ใช้ผ้าสะอาดหรือเสื่อปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งล้อมวงกัน ตักข้าวจากโถใส่จานอาหาร จัดมาเป็นสำรับ วางสำรับไว้ตรงกลางวง มีช้อนกลางสำหรับตักกับข้าว ใส่จานของตน และเปิบอาหารด้วยมือ บางบ้านจะมีขันหรือจอกตักน้ำ และกระโถนเตรียมไว้ เพื่อรองน้ำล้างมือด้วย

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้ติดต่อกับประเทศทางซีกโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น วัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามา ทำให้วิธีรับประทานอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับอาหารไทย เช่น ใช้ช้อนส้อมแทนมีดและส้อมแบบตะวันตก เป็นต้น การนั่งรับประทานอาหารกับพื้นก็เลิกไป เปลี่ยนมาเป็นนั่งรับประทานอาหารกับโต๊ะแทน แต่ยังคงวางอาหารทุกอย่างไว้กลางโต๊ะ มีช้อนกลางสำหรับตักอาหาร และมีถ้วยเล็กๆ สำหรับผู้ร่วมวงแต่ละคน เพื่อใส่กับข้าวที่แบ่งจากกลางวง เมื่อรับประทานอาหารคาวเสร็จแล้ว ก็จะถอนของคาวออกหมด และแจกของหวาน สำหรับทุกคนต่อไป

                            Image

 

          http://www.siamtradition.com/2012/11/blog-post_8600.html#.USSbvB1hN9V

 

ประเพณีในจังหวัดกาญจนบุรี

 

ประเพณีในจังหวัดกาญจนบุรี

 

รำเหย่ย

 

เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวกาญจนบุรีมาแต่บรรพกาลราวๆ ๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว จะเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ เป็นต้น วิธีการเล่นคือ ฝ่ายชายฝ่ายหญิงยืนล้อมวงกัน มีการร้องนำ ร้องแก้ และลูกคู่ ร้องรับพร้อมปรบมือเป็นจังหวะ ขณะร้องแก้นั้นฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะออกมาร่ายรำทีละคู่เปลี่ยนกันไป มีกลองยาวหนึ่งวง การแต่งกาย ชายนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอกลมผ้าขาวม้าพาดไหล่ หญิงแต่งชุดไทยห่มสไบเฉียง ปัจจุบันนิยมเล่นกันในเขตท้องที่อำเภอพนมทวนเท่านั้น

งานวันอาบน้ำแร่แช่น้ำตก 

จัดขึ้นบริเวณพุน้ำร้อนหินดาด หมู่ ๕ ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภายในงานมีกิจกรรมออกร้านผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นิทรรศการการท่องเที่ยวของอำเภอทองผาภูมิ นักท่องเที่ยวยังจะได้อาบน้ำแร่ที่พุน้ำร้อนหินดาดและเที่ยวชมความงามของน้ำตกผาดาด

งานเทศกาลชาวเรือชาวแพ 

จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่บริเวณถนนสองแคว ริมน้ำหน้าเมืองกาญจนบุรี ภายในงานมีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหกรรมลูกทุ่ง นิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง และการแข่งขันกีฬาทางน้ำประเภทต่างๆ อาทิ เรือยาว เรือเร็ว เจ็ตสกี เป็นต้น

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว 

จัดขึ้นทุกปีบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ กิจกรรมบันเทิงและการแสดงแสงและเสียง

 

งานสงกรานต์วัฒนธรรมหมู่บ้านหนองขาว

 

บ้านหนองขาวคือหมู่บ้านที่มีการรักษาขนบธรรรมเนียมประเพณีเอาไว้ตลอดหลายชั่วอายุคน และมรดกเหล่านีถูกนำเสนอมาแสดงออกผ่านเทศการประจำปีของหมู่บ้านที่จัดในช่วงวันสงกรานต์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ที่ชาวบ้านจะร่วมทำบุญตักบาตร จากนั้นในช่วงสายจะมีการประกวดธิดาเกวียนของแต่ละหมู่บ้าน การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ที่สร้างความสามัคคีขงอชาวบ้านภายในหมู่บ้าน การจำลองวิธีชิวีตของชาวบ้าน เช่น การทำขนมจีนสูตรพื้นบ้าน การทำตาลโตนต การทอผ้าซิ่น การแข่งขัีกิฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน

 

งานเทศการเห็ดโคน และอัญมณี อ.บ่อพลอย

 

จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ภาย ในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเห็ดโคน ที่ยังไม่สามารถเพราะพันธ์ได้ การสาธิตแปรรูปอาหารจากเห็ดโคน สามารถเลือกชิมได้และยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเหมืองพลอย การเจียระไนพลอย รวมถึงการออกร้านจำหน่ายอัญมณีจากหลายร้านด้วย

 

งานสงการานต์มอญ

 

จัดขึ้ในช่วงวันที่ 13 -15 เมษยนของทุกปี ที่บริเวณวัดวังก์วิเวการาม ช่วงเช้าชาวบ้านมากหน้าหลายตาจะพากันมาทำบุญตักบาตร์อย่างเนื่องแน่น มีการก่อเจดีย์ทรายขนาดใหญ่ การรดน้ำพระสงฆ์มอญ และวันนี้ชาวมอญจะมีการแต่งตัวด้วยเสือผ้าแบบมอญที่สวยงาม มีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน อย่างการละเล่นสะบ้าที่หาดูได้ยาก และมีอาหารพื้นบ้านแบบมอญให้ชิมด้วย

 

ประเพณีฟาดข้าวชาวกะเหรี่ยง

 

อยู่ที่ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี เป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานแต่โบราณ นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หรื่อความสามารถของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะให้ลูหลานมีความสมานสามัคีดกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ยังมาช่วยเหลือซื่งกันและกัน

 

http://www.riverkwaiwestland.com/top-festival.html

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

                                 ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ
บทสัมภาษณ์
  ประชาคมอาเซียนถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับภูมิภาคนี้ แล้วเราก็เป็นหนึ่งในการก่อตั้ง ถือว่าอาเซียนเป็นองค์กรหนึ่งที่ดูแลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากในขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า มีโครงการทวายโปรเจคเกิดขึ้นที่ประเทศเพื่อนบ้านเรา ซึ่งแท้จริงแล้วทวายโปรเจค อยู่ห่างจากกาญจนบุรี ทางด้านบ้านพุน้ำร้อน เขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี ห่างจากชายแดนเราไปแค่ ๑๖๐ กิโลเมตรโดยประมาณ แล้วจากชายแดนตรงนั้น วิ่งรถมาที่ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี อีก ๖๐ – ๗๐ กิโลเมตรเท่านั้นเอง ถือเป็นความใกล้มาก และการที่จะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทวาย จะมีผลโดยตรงต่อประชาคมอาเซียน อย่างแน่นอน เนื่องจากว่าเป็นการเชื่อมต่อของโลกระหว่างอันดามันกับทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นคอริดอร์ที่ยิ่งใหญ่ เพราะต้องผ่านประเทศไทยเข้าทางกาญจนบุรี ออกไปทางวงแหวนตะวันตก ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และสามารถไปสู่แหลมฉบังได้ ถ้าต้องการจะไปที่ฐานผลิตหรือไปลงเรือตรงนั้นก็ได้ หรืออาจจะออกไปโดยตรงทางด้านกัมพูชา เข้าไปเวียดนาม ไปโฮจิมินก็แล้วแต่ ก็เป็นการขนส่งไปยังท่าเรือน้ำลึกทางด้านโน้นคือทะเลจีนใต้ คอริดอร์ตรงนี้ถือว่ายิ่งใหญ่ มีผลอย่างยิ่งต่อประชาคมอาเซียนมาก ฉะนั้นกาญจนบุรีจึงเป็นเมืองหน้าด่านอีกครั้งหนึ่งทางด้านเศรษฐกิจ ที่จะนำพาสิ่งเหล่านี้ไปสู่ความสำเร็จได้ ในเร็ววันนี้คณะรัฐมนตรีจะมีการมาประชุมสัญจรที่กาญจนบุรี ประมาณปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๕ การประชุม ครม.สัญจรในครั้งนี้ ถือได้ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อคอริดอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่จะต้องผ่านกาญจนบุรี ประชาคมอาเซียนเองก็จะได้รับประโยชน์มหาศาลตรงนี้ด้วย

การเดินทางไปกาญจนบุรี

 

การเดินทางไปกาญจนบุรี

1.รถยนต์
-ใช้ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า แล้ววิ่งขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าจากนั้นตรงไปเรื่อยๆจนถึงทางแยกไปอ.สามพราน จ.นครปฐม ให้ชิดขวาแล้วไปตาม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน อ.นครชัยศรี อ.เมือง จ. นครปฐม จนถึง กม.69 ให้เตรียมชิดซ้ายเพื่อขึ้นสะพานข้าม แยกไป ทาง อ. บ้านโป่ง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 323 (ถ.แสงชูโต) ผ่านสามแยกกระจับ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เข้าสู่ จ.กาญจนบุรี ที่อ.มะกา อ.ท่าท่วง ไปจรถึง อ.เมือง รวมระยะทาง 129 กม.
-ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) เริ่มจากบางแค ผ่าน อ้อมน้อย , อ้อมใหญ่ , อ.สามพราน , อ.นครชัยศรี ไปบรรจบกับเส้นทางที่ 1 หลังจาก อ.สามพราน ทั้งสองเส้นทางนี้ระยะทางใกล้เคียงกันแต่เส้นทางที่ 2 จะมีปัญหา
รถติดมากกว่า

2.รถโดยสาร 
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ จะมีไปภึงเฉพาะที่ตัว อ.เมือง เท่านั้น ไม่มีไปถึงอำเภออื่นๆ รถปรับอากาศชั้น 1 ไปจอด ที่สี่แยกไฟแดงหน้าศาลหลักเมือง รถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดาจอดที่สถานีขนส่งกาญจนบุรี
– รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-
22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192
– รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557

3.โดยรถไฟ
การเดินทางโดยรถไฟนับเป็นสเน่ห์ของการเดินทางอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ต้องมีเวลามากและไม่รีบร้อนขึ้น รถไฟได้ที่สถานีบางกอกน้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. 0 2411 3102 วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถามเพิ่ม เติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 และ 1690 หรือที่เว็บไซต์ http://www.railway.co.th นอกจากนี้ยังมีรถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษที่ให้บริการเฉพาะวันหยุดหลาย รายการแต่ต้องติด ต่อ จองล่วงหน้า และต้องไปขึ้นรถที่สถานีรถไฟหัวลำโพง การเดินทางโดยรถไฟไปเที่ยว เมืองกาญจน์มีความ พิเศษต่าง จากที่อื่น คือเป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์หรือเรียกกันว่าทาง รถไฟสายมรณะ หากมีโอกาสจึง ไมควรพลาดจะนั่ง รถไฟเที่ยวออกจาก สถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.40 น. และ 13.50 น. แวะจอดที่สถานกาญจนบุรีีสะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง

 

http://www.paiduaykan.com/76_province/central/kanjanaburi/transporation.html

เพลงประจำจังหวัด

 

เพลงกาญจนบุรีศรีสยาม

กาญจนบุรีดินแดนที่สุขสันต์อาจินต์ แดนอุดมด้วยทรัพย์สิน 
ผืนแผ่นดินทองของชาติไทย ดินแดนสวยประหลาด ธรรมชาติเลอล้ำถิ่นใด 
เพลินถ้ำธารน้อยใหญ่ เพลินใจเมื่อยามได้ชม 
ตื่นตา ครั้นมาน้ำตกพริ้วตกรื่นรมย์เสียงคลื่นครั่นโครมพลิ้วพรมอยู่ชั่วกาล 
ไทรโยคทั้งใหญ่น้อยสวยหยดย้อยและดูตระการ 
สวยเอราวัณเหมือนถิ่นวิมานตราตรึง ถ้ำละว้าแลลาน 
วังตะเคียนชวนฝันรำพึงงามสุดงามถ้ำดาวดึงส์สวยติดตรึงงามซึ้งไม่วาย 
มีหินย้อยน่ายลสวยพราวหยดหยาดเพชรเพริดพราย 
ชวนให้ชมมิหน่ายดังประกายน้ำค้างน่าชม 
เปรียบดังทิพย์แดนพิมานสวรรค์สร้างชั้นพรหม 
แคว้นธารรื่นรมย์ด้วยทิวทัศน์เพลิดพราว 
ธารสวรรค์บบนดินซึ้งจิตจินต์งามเฉิดเฉลา 
มิเคยอับเฉานี้แหละแคว้นเราเมืองกาญจน์

 

http://www.baanjomyut.com/76province/center/khanchanaburi/index.html